อาจจะเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่จากผลสำรวจและวิจัยของ “บริษัทบู๊ทส์(รีเทล) ประเทศไทย จำกัด” พบว่า 1 ใน 4 ของประชาชนคนไทยจะป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ประเภทใดก็ประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน่าตกใจและหลายคนคงจะนึกไม่ถึงว่าปัจจัยมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความเชื่อที่ก่อให้เกิด “โรคภูมิแพ้”

Allergic rhinitis 4

ไม่เพียงเท่านั้น “แพทย์หญิงอังครัตน์ ศุภชัยศิริกุล ฝ่ายอายุรกรรมโรคข้อและภูมิแพ้ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ” ได้เปิดเผยข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า โรคภูมิแพ้เป็นหนึ่งในภาวะเรื้อรังที่พบมากที่สุดในประเภทไทย โดยสามารถมีอาการติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หรือจะมาปรากฏอาการแพ้ภายหลังได้รับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน  และส่วนมากอาการที่พบ 4 อันดับแรกของคนไทยในภาวะภูมิแพ้ ก็คือภูมิแพ้อากาศ 40 เปอร์เซ็นต์ โรคหอบหืดถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ภูมิแพ้ผิวหนัง 10-15 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโรคภูมิแพ้ที่คนไทยเป็นมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ โรคภูมิแพ้อากาศ โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้อาหาร และโรคภูมิแพ้ยา โดยแต่ละอาการก็จะมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป

“โรคภูมิแพ้คือ การตอบสนองที่ผิดปกติของร่างกายซึ่งโดยปกติแล้วสารกระตุ้นหรือสิ่งเร้าเหล่านั้นคือสารปกติที่สามารถเข้ามาสัมผัสร่างกายได้โดยไม่มีอาการผิดปกติ สำหรับคนที่มีภาวะโรคภูมิแพ้ก็เกิดมาจากการได้รับสารปกติเหล่านี้แต่ร่างกายไม่สามารถปรับรับจึงเกิดภาวะต้าน หรือตอบสนองแบบผิดปกตินั้นเอง”

ซึ่งภาวะภูมิแพ้สามารถเกิดขึ้นได้หลายส่วน หากเกิดขึ้นในจมูก เมื่อหายใจและได้รับสารกระตุ้นหรือปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ (ตัวอย่างเช่น ไรฝุ่นและเกสรดอกไม้) ร่างจะตอบสนองแบบผิดปกติโดยเกิดอาการอักเสบและมีน้ำมูก หรือคันจมูก หรือหากเกิดขึ้นกับผิวหนัง ตัวอย่างที่เห็นได้เช่นก็คือภาวะแพ้อากาศหากเจอภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน หรืออากาศที่ไม่คุ้นเคย (อย่างเช่นช่วงหนาวจัด หรือช่วงก่อนฝนตก) ร่างกายอาจจะตอบสนองโดยการบวม หรือขึ้นผดผื่นคล้ายลมพิษ ทั้งนี้เวลาของอาการที่ตอบสนองอาจจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยและภาวะของแต่ละบุคคล

“ความเสี่ยงของภาวะโรคภูมิแพ้”

                นอกจากสารกระตุ้นและปัจจัยเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น ปัจจัยจากทางกรรมพันธุกรรม บิดา มารดาหรือคนในวงตระกูลก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น หากบิดาหรือมารดามีอาการของโรคภูมิแพ้จะมีโอกาสทำให้บุตรมีความเสี่ยงมากถึง 30 % – 50% แต่หากทั้งบิดาและมารดามีอาการของโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ก็จะทำให้บุตรมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากยิ่งขึ้นถึง 70% ซึ่งความเสี่ยงนี้ไม่อาจจะเลี่ยงได้ ทำได้แค่เพียงป้องกันการเกิดภาวะนี้ภายหลังเท่านั้น

 

150

 

โรคภูมิแพ้สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ดังนี้

 

  1. โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจได้แก่ โรคหืด (Asthma)

อาการที่สามารถพบได้ป่วยที่สุดในคนไทย และอาการจะแสดงออกมาดังนี้ “ปวดหน้าอกและหายใจไม่ออกเมื่อได้รับกลิ่นที่แปลกหรือสารกระตุ้น อาการอาจจะเป็นเป็นๆ หายๆส่วนมากจะมีโอกาสสูงที่จะเป็นร่วมกับอาการภูมิแพ้ในโพรงจมูก”

  1. โรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ (Allergic rhinitis)
    อาการอีกประเภทที่พบได้บ่อยพอสมควร นั้นคือการคันจมูกและหายใจไม่ออก ปวดหน้าอก รวมไปถึงน้ำมูกและมีความเสี่ยงอาจจะให้เกิดอาการแทรกซ้อน น้ำมูกใสหรืออาการของไซนัสอักเสบAllergic rhinitis 3
  2. โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergic skin disease)
    อาการนี้จะพบมากเมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นที่ผิดปกติ หรืออากาศที่เปลี่ยนแปลงในภาวะร่างกายไม่คุ้นเคย และปัจจัยอื่นๆ ในลักษณะลมพิษ หรือรอยแดงคล้ายมดหรือยุงกัดอาจจะมีขนาดใหญ่เป็นแผ่นกว้างหากไม่รุนแรงนักก็จะหายไปเองภายในไม่กี่ชั่วโมงและไม่ถึงร่องรอย ป้องกันเบื้องต้นได้โดยรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวAllergic rhinitis 1
  3. โรคภูมิแพ้ทางตา (Eye allergy)
    อาการนี้อาจจะไม่ผิดได้ไม่บ่อย และหากไม่รุนแรงก็จะพบในอาการที่มีขี้ตาหรือตาแดง แต่หากมีอาการหนักหรือพบหนองอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนควรปรึกษาแพทย์ทันที
  4. โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการหลายระบบ (Anaphylaxis)
    อาการแพ้ในลักษณะนี้ค่อนข้างรุนแรงและอาจจะทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้ในไม่นานเมื่อได้รับสารกระตุ้น ในส่วนนี้อาจจะยากในการบ่งชี้ว่าใครแพ้อะไรโดยละเอียด แต่ส่วนมากมักเกิดขึ้นกับ “อาหารและยา” เพราะทั้งสองยาเป็นปัจจัยที่รับเข้าสู่ร่างกายโดยตรง

 

“การดูแลรักษาอาการภูมิแพ้”

การดูแลรักษาอาจจะไม่สามารถทำให้หายขาดได้ 100 เปอร์เซ็นแต่ก็สามารถทำได้โดยการ “รักษา” และ “ป้องกัน”

ในส่วนแรกที่จะพูดถึงนั้นก็คือ เมื่อเกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นมาแล้วนั้น “การรักษา” ก็เป็นส่วนสำคัญ โดยจะสามารถแบ่งเป็นกลุ่มของชนิดยารักษาได้ดังนี้

  1. ยาบรรเทาอาการต่างๆเช่น ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) และยาขยายหลอดลม
  2. ยาต้านการอักเสบเช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกหรือสูดทางปาก
  3. การใช้วัคซีนภูมิแพ้

Allergic rhinitis 2

แต่หากจะให้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขแล้วละก็ “การป้องกัน” นั้นหมายถึงการควบคุมสภาพแวดล้อมหากรู้ว่าตนเองแพ้อะไร ก็ควรจะหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือการเพิ่มภูมิคุ้มกันอย่างเช่นการทานวิตามินหรือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจจะช่วยลดความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นได้

Reference :
haamor.com/th/โรคภูมิแพ้/
health.kapook.com/view2849.html
www.ku.ac.th/e-magazine/february48/know/health.html
komchadluek.net/news/lifestyle/156762
bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/reduced-allergy-risk
pantip.com/topic/32984409

 

Write a comment:

*

Your email address will not be published.

2014-2016 © Copyrighted by KJV Group Co., Ltd