สายตาที่สั้นยาว หรือมีภาสะผิดปกติของดวงตาทำให้การตกกระทบของแสงผิดเพี้ยน จึงเป็นผลให้การมองเห็น ไม่เป็นไปตามปกติ ซึ่งที่พบเห็นกันอยู่เลยนั้นก็คือ ภาวะสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง
และหนึ่งสาเหตุหลักก็คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้มือถือแบบสมาท์โพส นั้นหมายความว่า “คนเราใช้เวลาอยู่กันจอที่ทำลายสายตามากขึ้นนั่นเอง”
ซึ่งการแก้ไขให้สามารถมองเห็นได้ตามปกตินั้นก็มีด้วยกันหลายวิธี เช่น การสวมแว่นสายตา การใส่คอนแทคเลนส์ และเทคโนโลยีล่าสุด “การทำเลสิก (Lasik)” ที่อาจจะมีในประเทศไทยของเรามานานพอสมควรแล้ว แต่ยังไม่ได้รับความนิยมโดยแพร่หลายก็เพราะว่า “ความเข้าใจในเรื่องข้อมูลของการทำเลสิก (Lasik)”
และการผ่าตัดด้วยการยิงแสงเลเซอร์ “การทำเลสิก” สามารถแก้ไขได้ในปัญหาการมองเห็นหลัก และใช้เวลาไม่นานนัก โดยรวมของขั้นตอนการผ่าตัดอาจจะใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมงเท่านั้น รวมถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดมีน้อยมาก ทั้งนี้การให้ความสำคัญคือขั้นตอนการเตรียมก่อนผ่าตัดมากกว่า
“ผู้ที่เหมาะสมที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดทำเลสิก (Lasik)”
- มีความรู้และเข้าใจในสายตาของตนเองและความเสี่ยงรวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
- มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
- มีสายคงที่อย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป
- ไม่เป็นโรคของกระจกตาและโรคเบาหวาน
- ไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์
ถ้าหากว่าตรวจสอบไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ไม่สามารถทำเลสิกตาได้
“การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด”
จะสามารถแบ่งออกได้เป็นสองช่วงใหญ่ดังนี้ “เตรียมตัวก่อนตรวจประเมินสภาพตา ก่อนทำเลสิก” และ “การเตรียมเพื่อผ่าตัด”
“ในระยะแรกก่อนที่จะประเมินสายตาก่อนทำเลสิก”
แพทย์จะแนะนำให้ผู้รับการรักษาถนอมดวงตา โดยจะต้องถอดคอนทคเลนส์ก่อนมาตรวจอย่างน้อย 2 สัปดาห์แต่สามารถใช้แว่นได้แทน ที่สำคัญในขั้นตอนการประเมินสายตาอาจจะทำให้มีผลต่อการมองเห็นได้ จึงไม่ควรที่จะขับรถหรือเดินทางมาเพียงลำพัง
“ในระยะเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินสภาพดวงตาก่อนจะเข้าผ่าตัด”
- เริ่มต้นจากการตรวจวัดสายตาเบื้องต้นเพื่อค่าที่ถูกต้อง ก่อนจะตรวจประเมินวิเคราะห์กระจกตาหาความเสี่ยงการทำเลสิค เพื่อหาความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแทรกซ้อนอย่างโรคกระจกตา หรือภาวะติดเชื้ออื่นๆ
- ต่อมาจะทำการตรวจภาวะแสงที่ตกกระทบและกระจายเพี้ยน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มองภาพแตกต่างจากสายตาคนปกติ รวมทั้งการถ่ายภาพจับลายม่านตา
- ตรวจวัดความหนาของกระจกตา
- เป็นหน้าที่ของ “จักษุแพทย์” ผู้เชี่ยวชาญนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อการรักษาและดูแลให้อาการนี้หายได้อย่างถาวรโดยไม่มีภาวะโรคแทรกซ้อน
- หลังจักษุแพทย์ได้วิเคราะห์ผลจนเสร็จสิ้น ก็ถึงขั้นตอนการนัดและผ่าตัดการทำเลสิกดวงตา “ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและเครื่องมือของจักษุแพทย์แต่ละท่าน แต่ละสถานพยาบาล”
“หลังการผ่าตัดเลสืกดวงตา”
- ในระยะแรกควรงดให้สายตาทำงานหนัก อย่างเช่นการเล่นคอมพิวเตอร์และการอ่านหนังสือ และในช่วงแรกประมาณ 6=8 ชั่วโมงอาจจะมีอาการแสบและเคืองตาอยู่มากแต่ก็ไม่มีผลอะไร
- แนะนำให้สวมแว่นกันแดดอยู่ตลอดเวลาในช่วงนอกตัวบ้าน เพื่อป้องกันแสงแดดที่จะมาทำร้ายดวงตาที่กำลังพักฟื้น
- ดูแลดวงตาอย่างระมัดระวังอยู่เช่นนั้นประมาณ 1 เดือนก็สามารถดูแลแบบดวงตาคนปกติได้ และที่สำคัญหากตาแห้งก็หมั่นหยอดตาด้วยน้ำตาเทียมอยู่เป็นประจำเพื่อถนอมดวงตา
- จักษุแพทย์จะนัดตรวจประเมินการมองเห็น และสายตา ที่ 3 เดือน , 6 เดือน และ ที่ 1 ปี จะตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียดซ้ำ เช่นวัดสายตา กระจกตา เลนส์ตา
หากมีความต้องการที่จะเข้ารับการรักษาในรูปแบบนี้ ก่อนอื่นก็ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน รวมถึงทำความเข้าใจเรื่องของ “ข้อดีและข้อเสียของการผ่าตัด”
“ข้อดีของการทำเลสิกดวงตา” ก็คือ สามารถรักษาอาการผิดปกติของดวงตาได้อย่างถาวร และใช้เวลารักษาไม่นานรวมไปถึงแทบจะไม่ต้องพักฟื้น สามารถใช้ดวงตาได้ทันที โอกาสในการติดเชื้อก็ต่ำมาก ตามสถิติระบุว่าโอกาสในการติดเชื้อมีน้อยกว่า 2 ใน 10,000 คนเท่านั้น
“ข้อเสียของการทำเลสิกก็มีเช่นกัน” ข้อเสียหลักๆก็คือเรื่องค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างมีราคาสูง แต่เมื่อเทียบกับผลของการรักษาก็ยังถือว่าคุ้มค่ามาก ผลข้างเคียงเล็กน้อยก็อาจ เกิดขึ้นได้เช่น น้ำตาไหลหรือมีขี้ตาบ้างในช่วงแรกถือว่าไม่ใช่อาการที่น่าเป็นห่วงสักเท่าไร
Reference
www.tcec.co.th/2013/?p=3297
www.mitthai.com/topic/viewtopic.php?f=5&t=595
www.bangkokhospital.com/index.php/th/center-of-excellence/eye-ent/lasik-center
Write a comment: