225

 


ดวงตาคืออวัยวะที่สำคัญที่สุด ส่วนหนึ่งของร่างกาย
ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ และโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและปัญหาของดวงตานั้นไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มีความเสี่ยงไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเด็กแรกเกินจนถึงอายุประมาณ 9 ขวบจะเป็นช่วงที่เด็กมีการพัฒนาการของสายตาและพัฒนาการที่สมบูรณ์ตั้งแต่ การมองภาพที่ชัดเจนด้วยตาทั้งสองข้าง ความลึก หนาตื้น ทั้งหมดนี้เป็นปกติก็ต่อเมื่อไม่มีการหยุดพัฒนาการ โดยภาวะแทรกซ้อนของโรค ฉะนั้นหากพบปัญหาในเด็กตั้งแต่เนิ่นๆก็ควรจะพาบุตรหลานรีบเข้าพบแพทย์เพื่อหาทางรักษากันต่อไป

 

โรคตาในเด็กเล็ก

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000020659

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000020659

 

อายุแรกเกิน – 6 เดือน
ช่วงนี้เป็นช่วงที่พ่อและแม่ จะสามารถสังเกตบุตรของตัวเอง ว่ามีอาการตาเขเข้าในหัวตาหรือไม่ หรือ ควรจะสังเกตดวงตาทั้งสองข้างว่าตาดำมีขนาดเท่ากันหรือไม่ หาพบปัญหาแต่เนิ่นก็ควรจะรีบปรึกษาจักษุแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยให้เด็กมีการเจริญเติบโตกับดวงตาที่ผิดปกติเช่นนี้ ถึงแม้จะเป็นปัญหาเพียงนิดเดียวก็ตาม

 

อายุ 1-3 ขวบ
ในวัยนี้พ่อและแม่ควรสังเกตบุตรเวลา เพ่งมองดูอะไรใกล้ๆว่ามีตาดำเขเข้าหัวตาหรือไม่ หรืออีกอาการที่จะสามารถพบได้ในช่วงนี้ก็คือ โรคตาขี้เกียจ คือ อาการของตามัวข้างเดียว ถึงแม้ว่าบุตรของคุณจะบ่นว่ามีอาการเจ็บปวดอะไร ก็ไม่ควรละเลยเพราะหากปล่อยไว้อาจจะขยายอาการให้ใหญ่กว่านี้ จนอาจจะเป็นโรคต้อกระจกได้เช่นเดียวกัน

 

อายุประมาณ 3-5 ขวบ
ส่วนมากจะเป็นโรคที่เกิดจากกล้ามเนื้อตา เช่นโรคตาขี้เกียจ และโรคตาเข เด็กเล็กวัยก่อนเรียน พ่อและแม่ควรจะใส่ใจพาบุตรหลานไปตรวจเช็คกับจักษุแพทย์ เพื่อหาแนวทางรักษาให้เป็นปกติก่อนที่ดวงตาจะมีการพัฒนาให้สมบูรณ์ต่อไป

https://www.bumrungrad.com/th/Better-Health/2558/eye-health-care/children-eye-health-care

https://www.bumrungrad.com/th/Better-Health/2558/eye-health-care/children-eye-health-care

 

เด็กกลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคตา หรือจะต้องดูแลเป็นพิเศษ

  1. เด็กที่คลอดก่อนกำหนด
  2. เด็กที่มีแม่เป็นหัดเยอรมัน หรือโรคหอบหืดขณะตั้งครรภ์
  3. เด็กที่ไม่มองหน้าแม่ตอนแรกคลอด
  4. เด็กที่มีตาแฉะและมีขี้ตามาตั้งแต่แรกคลอด
  5. เด็กที่มีดวงตาแวววาว ตอนแรกคลอดเมื่อถูกแสงไฟ (ลักษณะคล้ายดวงตาเป็นต้อ)
  6. เด็กที่มีประวัติครอบครัว เป็นโรคตามาก่อน
  7. เด็กที่เป็นเบาหวาน
  8. เด็กที่ชอบกระพริบตา เพ่งมองและหยีตาอยู่บ่อยๆ

หากสังเกตแล้วบุตรมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตา ก็สามารถนำไปพบจักษุแพทย์ได้ทันที

ในคลินิกตาใกล้บ้านคุณ โรงพยาบาลของรัฐที่มีความชำนาญเรื่องกล้ามเนื้อตาและโรคตาเด็ก ถ้ามีออทอปติสซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกล้ามเนื้อตาก็จะได้รับการดูแลเฉพาะ ทางได้เป็นอย่างดี เช่น โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย เช่น ศิริราช รามาธิบดี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ราชวิถี พระมงกุฎ จุฬาฯ มหาราช เชียงใหม่ โรงพยาบาลศูนย์นครราชสีมา สำหรับโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง ก็สามารถนำเด็กไปรักษาได้เช่นกัน

 

Reference

http://www.bangkokhealth.com/health/article/การดูแลสายตาในเด็ก-2267

http://www.thairath.co.th/ content/319315

https://www.bumrungrad.com/healthspot/july-2013/children-eyes-problems

 

Write a comment:

*

Your email address will not be published.

2014-2016 © Copyrighted by KJV Group Co., Ltd